โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ
เชื่อว่าในยุคปัจจุบันสำหรับคนที่วางแผนอยากซื้อรถคันต่อไปไม่ว่าจะเป็นการใช้ในครอบครัวหรือใช้กับธุรกิจ คงกำลังตัดสินใจระหว่าง “รถไฟฟ้า” หรือรถ EV ที่ใช้การขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก กับ “รถน้ำมัน” หรือรถระบบสันดาปที่คุ้นเคยกันดี จะเลือกซื้อแบบไหนให้ตอบโจทย์กับตนเองมากที่สุด ลองมาเช็กข้อมูลเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อกันได้เลย
สำหรับผู้ที่เน้นขับขี่ในเมือง เน้นเส้นทางเดิมบ่อย เช่น ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน อยากสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และไม่อยากจ่ายค่าน้ำมันแพง ๆ การเลือกรถไฟฟ้าคือคำตอบของคุณแบบไม่ต้องสงสัย แต่สำหรับคนที่ต้องออกต่างจังหวัดประจำ หรือขับขี่ระยะทางไกล มีเส้นทางขับขี่หลากหลาย เน้นความสะดวกในการดูแลรถ หาเติมน้ำมันง่าย รถน้ำมันก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าเช่นกัน
ซึ่งเหตุผลที่ให้ดูจากจุดประสงค์ด้านการขับขี่ เพราะต้องเข้าใจว่าปัจจุบันรถไฟฟ้ายังขับขี่ได้ระยะทางไม่ไกลมากนักต่อการชาร์จไฟฟ้า 1 ครั้ง หากต้องขับรถทางไกลโดยคุณไม่คุ้นชินเส้นทางการมองหาสถานีชาร์จถือเป็นเรื่องยากมากต่างจากปั๊มน้ำมันของรถน้ำมันที่พบเจอได้ทั่วไป แต่ถ้าอยากเน้นประหยัดค่าน้ำมัน และใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์คนเมืองอาจมีขับออกต่างจังหวัดบ้างแต่ไม่บ่อยรถไฟฟ้าน่าสนใจเช่นกัน
ถ้าเทียบจากราคาขายของทั้งรถไฟฟ้าและรถน้ำมันถือว่าไม่ได้หนีห่างกันสักเท่าไหร่นัก ตรงนี้จึงต้องย้อนกลับไปดูจุดประสงค์ว่าคุณจะใช้งานลักษณะไหนเป็นหลัก แต่สิ่งที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมนั่นคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งสามารถเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นได้ ดังนี้
พูดง่าย ๆ ก็คือค่าน้ำมันกับค่าไฟฟ้านั่นเอง ตรงนี้ต้องยอมรับว่ายังไงรถไฟฟ้าก็กินขาด เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่ามหาศาลในยุคนี้น้ำมันเบนซินแพงแตะลิตรละเกิน 40 บาท อย่างไรก็ตามหากจะเลือกใช้รถไฟฟ้าก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบชาร์จไฟที่บ้าน ค่าไฟ หรือค่าบริการจากสถานีชาร์จทั่วไปจึงต้องศึกษาความคุ้มค่าให้ดีเช่นกัน
สำหรับรถน้ำมันสามารถหาอู่หรือช่างได้ง่าย ค่าแรง อะไหล่ต่าง ๆ ไม่แพงมาก แต่สำหรับรถน้ำมันในส่วนนี้ต้องยอมรับว่าช่างในเมืองไทยยังมีน้อย ไปจนถึงอะไหล่ก็อาจต้องรอจากผู้ผลิตโดยตรง ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
หากเป็นรถน้ำมันมีให้เลือกตั้งแต่ชั้น 1 – ชั้น 3 ตามงบและความต้องการของผู้ขับขี่ ส่วนรถไฟฟ้าปัจจุบันบริษัทประกันยังมักอนุมัติแค่ประกันชั้น 1 เป็นหลัก และในอนาคตคาดว่าน่าจะมีกรมธรรม์เฉพาะของรถไฟฟ้าต่างหากซึ่งต้องลองติดตามเรื่องราคากันด้วย
จากข้อมูลเหล่านี้เชื่อว่าคงทำให้หลายคนลองประเมินและนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นระหว่างรถไฟฟ้ากับรถน้ำมัน เพราะทั้งคู่ก็ยังคงมีจุดเด่น-จุดด้อยคนละสไตล์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ขับขี่มากที่สุด
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ