โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ
ระบบเบรกมีหน้าที่ในการทำให้รถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ ชะลอความเร็วหรือหยุดล้อ เพื่อให้ล้อหยุดรถ โดยการทำงานของระบบเบรกนั้น เป็นการสร้างแรงเสียดทานที่บริเวณดิสก์เบรกหรือดรัมเบรก (ตามรุ่นรถ) ดังนั้นระบบเบรกจึงเป็นส่วนสำคัญในการชะลอความเร็ว หยุดหรือจอดรถ นั่นเอง
ในการเบรกแต่ละครั้ง ชุดเบรกที่อยู่ล้อหน้าจะรับภาระหนักกว่าชุดเบรกที่อยู่ล้อหลัง เนื่องจากการเบรกจะทำให้น้ำหนักของรถถ่ายโอนไปล้อหน้าหรือการเกิดแรงเฉื่อยนั่นเอง โดยรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบันที่ราคาไม่สูงมากมักมี ชุดเบรกอยู่ในระบบเบรกด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ชุดดิสก์เบรก (ล้อหน้า) และชุดดรัมเบรก (ล้อหลัง) เนื่องจากการทำงานของดิสก์เบรกให้ประสิทธิภาพในการเบรกสูงมากกว่าดรัมเบรก แต่หากเป็นรถยนต์ที่มีราคาสูงจะมีชุดเบรกประเภทเดียวคือชุดดิสก์เบรกในทั้งล้อหน้าและล้อหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบและพัฒนาของแต่ละค่ายรถด้วย
ดิสก์เบรก (Disc Brake) เป็นระบบเบรกที่นิยมใช้กันแพร่หลายในรถรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน หลักการทำงานของระบบระบบดิสก์เบรกก็คือ จะมีผ้าเบรกอยู่ใกล้ๆ กับจานเบรก เมื่อเหยียบเบรก แม่ปั้มจะดันผ้าเบรกไปหนีบกับจานเบรกของล้อรถ ทำให้รถชะลอความเร็วลง และหยุดได้ในที่สุด ซึ่งมักใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า แต่ถ้าหากเป็นรถที่มีสมรรถนะสูงก็จะใช้ดิสก์เบรกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ข้อดี
ข้อเสีย
ดรัมเบรค (Drum Brake) เป็นระบบเบรกในยุคเริ่มต้น ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงแรก ซึ่งหลักการทำงานของระบบดรัมเบรกนั้นจะใช้หลักการของแรงผลัก เพื่อทำให้ล้อรถเกิดแรงเฉื่อยจนรถหยุด โดยการทำงานของดรัมเบรคก็คือ ภายในตัวดรัมเบรกจะมีผ้าเบรกโค้งๆ ด้านในเรียกว่า ก้ามปูเบรก หรือ ฝักเบรค มีสปริงและลูกสูบต่อเข้ากับสายเบรก เมื่อเหยียบเบรก ผ้าเบรกโค้งๆ ด้านใน จะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปติดเข้ากับด้านในของฝาครอบเบรก (Drum) ซึ่งฝาครอบเบรกจะยืดติดกับล้อรถอีกที เพื่อสร้างแรงเฉื่อยให้กับรถ ชะลอความเร็ว และหยุดรถได้ในที่สุด
ข้อดี
ข้อเสีย
1. ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุก ๆ 25,000 กิโลเมตร
2. ห้ามนำน้ำมันเบรกที่ถ่ายออกแล้วกลับมาใช้ใหม่
3. ถ้าน้ำมันเบรกหกรถสีให้รีบล้างออกทันที
4. การไล่ลมเบรกต้องแน่ใจว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบรกของรถรุ่นนั้นดี จึงจะสามารถปฏิบัติการไล่ลมได้
5. ห้ามใช้น้ำมันเบรกแทนน้ำมันหล่อลื่น หรือจาระบีโดยเด็ดขาด
6. น้ำมันเบรกที่ทำจากน้ำมันแร่ สามารถใช้กับรถบางยี่ห้อหรือตามที่บริษัทผู้ผลิตรถกำหนดเท่านั้น
7. น้ำมันเบรกที่ผลิตจากสารเคมีชนิดเดียวกัน มีมาตรฐาน SAE หรือ DOT ระดับเดียวกัน สามารถรวมกันได้
8. จาระบีที่ใช้ทาซีลยางในระบบเบรก ต้องทำมาจากน้ำมันพืช (Vegetable Oil) เท่านั้น
9. ห้ามนำน้ำมันเบรกที่มีมาตรฐานและสารที่นำมาผลิตต่างชนิดกันผสมกัน
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ