โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ
อาการป่วยที่ไม่ควรขับรถ ให้ทุกคนได้พึงระวัง เพราะโรคบางโรคหากเกิดอาการกำเริบขึ้น ก็มีผลกระทบต่อการขับขี่ และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้
อาการป่วยอันตรายที่เราไม่ควรมองข้ามเวลาขับรถเดินทางไกลมีโรคอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
1.โรคที่เกี่ยวกับสายตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม โดยผู้ที่จอประสาทตาเสื่อมจะมองเห็นเส้นทางในช่วงเวลากลางคืนไม่ชัดเจน ส่วนผู้ที่เป็นต้อหิน ต้อกระจก จะมีมุมในการมองเห็นแคบและมองเห็นแสงไฟพร่ามัวจึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลากลางคืน หรือเส้นทางที่มีทัศนวิสัยไม่ดี
2.โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มาก แต่ก็ทำให้มีอาการหลงลืม จดจำเส้นทางไม่ได้ ทำให้ตัดสินใจช้า สมาธิไม่ดีนัก และอาจเกิดปัญหาขับรถหลงทางในบางครั้ง เช่น โรคสมองเสื่อมที่มักพบในผู้สูงอายุ
3.โรคหลอดเลือดสมองอัมพฤกษ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จะทำให้แขนไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกียร์ และอาจเกิดปัญหาขากระตุก ไม่มีแรงขณะเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก ส่งผลต่อการขับขี่ และทำให้ความไวต่อการตอบสนองเหตุการณ์ต่าง ๆ ลดลง เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์และรักษาอาการของโรคให้หายเป็นปกติก่อนกลับมาขับรถ
4.โรคพาร์กินสัน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือสั่น เท้าสั่น เกร็ง ทำอะไรได้ช้า ขับรถได้ไม่ดี กรณีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดภาพหลอน หากขับรถจะก่อให้เกิดอันตรายได้
5.โรคลมชัก หากอาการกำเริบขึ้นจะมีอาการชัก เกร็งกระตุก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ทางรอบข้าง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถด้วยตนเอง หากจำเป็นต้องขับรถ ต้องไม่มีอาการชักอย่างน้อย 6 เดือน ควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย และเมื่อมีอาการเตือนของโรคลมชัก ให้จอดรถริมข้างทางในบริเวณที่ปลอดภัย ซึ่งผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากการชักขณะขับรถ ควรเว้นระยะในการขับรถและต้องไม่มีอาการชักอย่างน้อย 1-2 ปี จึงสามารถกลับมาขับรถได้อีกครั้ง
6.โรคข้อเสื่อมข้ออักเสบ หากมีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ก็ทำให้เหยียบเบรก คลัตช์ หรือคันเร่งได้ไม่เต็มที่ ขยับร่างกายลำบาก หรือถ้ากระดูกคอเสื่อม ก็ทำให้หันคอ หันหน้าดูการจราจรได้ลำบาก รวมถึงไม่สามารถนั่งขับรถเป็นเวลานานได้ เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถระยะทางไกลเป็นเวลานาน ไม่ขับรถผ่านเส้นทางที่มีสภาพการจราจรติดขัด
7.โรคหัวใจท หากมีอาการเครียดมาก ๆ เกิดขึ้นจากสภาพการจราจรที่ติดขัด อาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกได้ เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการขับรถตามลำพัง และนำยาติดตัวไว้เสมอ รวมถึงควรจอดรถพักเป็นระยะ เพื่อป้องกันภาวะเครียดสะสม ทำให้โรคหัวใจกำเริบ
8.โรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว เหงื่อออกมาก ใจสั่น และหมดสติ หากอาการไม่รุนแรงยังสามารถขับรถได้ แต่หากอาการรุนแรง ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องขับรถควรเตรียมอาหาร ลูกอม น้ำหวานไว้รับประทาน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้หมดสติ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
9.โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงกะทันหัน โดยเฉพาะเมื่อต้องพบเจอกับความเครียดบนท้องถนน หากความดันขึ้นสูงมาก ๆ ก็อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลม หรือที่ร้ายกว่านั้นคือเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ
โรคและอาการเหล่านี้อันตรายมาก ๆ หากเกิดขึ้นในระหว่างที่เราขับรถอยู่ บางคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่หากเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ในทุกการเดินทางของเราและคนที่เรารักก็จะปลอดภัยนะคะ
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ