โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร:
+662 117 4645
อีเมล:
care@iLease.co.th
ที่อยู่:
เลขที่ 62 อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์
ชั้น 18 ห้อง 1801 ซอยหลังสวน
แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ
ผู้ขับขี่รถยนต์ต่างเกิดความวิตกกังวล และสงสัยว่าอาการพวงมาลัยล็อค สามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ หากเกิดขึ้นแล้วจะมีวิธีแก้ไขสถานการณ์อย่างไรบ้าง หรือในความเป็นจริงแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน
หากจะพูดถึงกลไกการทำงานของรถยนต์ หลายคนอาจนึกถึงเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าต่าง ๆ แต่อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ ระบบบังคับเลี้ยว หรือพวงมาลัย ปัจจุบันด้วยความทันสมัยและความก้าวหน้าทางยานยนต์ ระบบบังคับเลี้ยวหรือพวงมาลัยถูกปรับปรุงพัฒนาให้มีการควบคุมได้ง่ายขึ้นด้วยระบบผ่อนแรง หรือที่เราเรียกกันว่าพวงมาลัยพาวเวอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก และ พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า
รถพวงมาลัยล็อคหลายคนอาจจะนึกถึงตอนที่จอดรถดับเครื่องและดึงกุญแจออก ซึ่งนั่นเป็นระบบความปลอดภัยของตัวรถ ถือเป็นการทำงานของระบบล็อคที่ถูกต้อง แต่ถ้าจู่ ๆ ขณะที่เราขับรถอยู่พวงมาลัยจะสามารถล็อคได้ไหม ในทางข้อมูลวิศวกรรมยานยนต์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะต่อให้ขณะขับแล้วเกิดเครื่องยนต์ดับ พวงมาลัยจะยังสามารถใช้บังคับทิศทางของรถได้อยู่ เพียงแต่จะรู้สึกหนักขึ้น หมุนได้ยากกว่าเดิม เนื่องจากระบบไฮดรอลิก หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ช่วยผ่อนแรงจะหยุดการทำงาน
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าอาการพวงมาลัยล็อคจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลย เพียงแต่ว่าโอกาสที่จะเกิดนั้นค่อนข้างน้อยมาก สำหรับสาเหตุที่อาจจะนำไปสู่อาการพวงมาลัยล็อคนั้นมีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น
แร็คพวงมาลัย คือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์บังคับเลี้ยวที่ติดตั้งเชื่อมต่อกับระบบกันสะเทือนเสื่อมสภาพหรือชำรุด แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการนำมาก่อน เช่น เลี้ยวลำบากขึ้น หรือมีเสียงดังเวลาเลี้ยว คนขับหรือเจ้าของจึงมักแก้ไขซ่อมแซมได้ทันก่อนจะเกิดปัญหาที่ร้ายแรง แต่ถ้าแร็คพวงมาลัยเกิดชำรุดขณะขับ พวงมาลัยก็ยังสามารถควบคุมรถได้อยู่เพียงแต่จะหนักขึ้นเท่านั้น
ในรถยนต์พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก จะมีส่วนประกอบของปั๊มน้ำมันไฮดรอลิกทำหน้าที่สร้างแรงดันเพื่อช่วยผ่อนแรงของพวงมาลัย หากแร็คหรือปั๊มรั่วจะทำให้แรงดันตก พวงมาลัยจะมีน้ำหนักมากขึ้น บังคับรถได้ยาก แต่ก็ยังสามารถควบคุมรถได้เช่นกัน
หากเกิดเหตุสุดวิสัย หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น แกนพวงมาลัย แร็คพวงมาลัย หรือชิ้นส่วนอื่น ๆ เกิดชำรุด แตกหัก เสียหายจริง ๆ ขณะขับขี่ การบังคับ ควบคุมรถ ก็ยังจะสามารถทำได้อยู่เช่นเดียวกับกรณีอื่น ๆ
ครที่กำลังขับรถแล้วพวงมาลัยมีอาการหนัก หมุน หรือเลี้ยวได้ยาก อย่าเพิ่งตกใจ ให้ตั้งสติ พยายามแตะเบรกลดความเร็ว จับพวงมาลัยให้มั่นคงและพยายามออกแรงให้มากกว่าเดิม นำรถเข้าจอดข้างทางหรือพื้นที่ปลอดภัย
คนขับควรตรวจสอบและสังเกตพวงมาลัย ระบบบังคับเลี้ยว ทุกครั้งที่ขับรถ หากมีอาการพวงมาลัยหนัก เลี้ยวยาก เบื้องต้นให้ตรวจสอบปริมาณลมยางว่าอาจจะเติมลมอ่อนเกินไป หรือถ้าขณะเลี้ยวแล้วมีเสียงดัง ควรนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมรถทันที เพราะอาจมีชิ้นส่วนบางอย่างแตก หัก หรือชำรุดนั่นเอง
ฉะนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะ ให้ทุกคนตรวจเช็คความผิดปกติของรถยนต์ของท่านก่อนออกเดินทางทุกครั้ง อย่าลืมรัดเข็มขัดนิรภัย และขับขี่ตามระเบียบกฎจราจรกันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Kapook
อนุมัติไว ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินและเงื่อนไขของทางบริษัท อนุมัติไวรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง และรับเงินไวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการโอนทรัพย์ สามารถกู้ได้ทุกอาชีพ